คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.
กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมาย หมายถึง
กฏแห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ความประพฤติของมนุษย์
และเป็นบรรทัดฐานความประพฤติสำหรับมนุษย์รุ่นต่อๆไป ในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม
มาตรา 30 การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าทุกคนจะมีความเสมอภาคกันและได้รับการคุ้มตามกฏหมายเท่าเทียมกันทุกคน
ไม่เว้นแม้แต่เพศ เชื้อชาติ หรือความพิการ ซึ่งบุคคลที่กล่าวถึงนี้จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบตอบ เห็นด้วย เพราะ ใบประกอบวิชาชีพครูเป็นตัวชี้ให้เห็นว่า บุคคลนั้นมีศักยภาพในการทำงานนั้นๆได้และยังชี้ให้เห็นว่าได้ผ่านมาตรฐานเดียวกันตามที่กระทรวงกำหนด จึงสามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถทำงานนั้นได้ซึ่งมันยุติธรรม ต่อผู้ประกอบวิชาชีพ
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ พรบ การศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้มีสาระท้องถิ่นที่สถานศึกษาต้องบรรจุในหลักสูตรโรงเรียนด้วย
ดังนั้น เราสามารเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ในเรื่องนั้นในสถานศึกษาได้
หรือจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียน
เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องใกล้ตัวและสามารถประกอบอาชีพได้ในภายภาคหน้า
เป็นการประหยัดงบประมาณและในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้างตอบ การศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ม1- ม6 และการศึกษาระดับ
อุดมศึกษา ปริญาตรี
5. ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ควาแตกต่างของการศึกษา ภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาภาคบังคับนั้นกฏหมายบังคับ แค่ 9 ปี จาก ป1 – ม3 ถ้าเด็กคนใดมีอายุถึงเกณฑ์แล้วคือ 7 ปี แต่ยังไม่ได้เข้ารับการศึกษานั้นเป็นการผิดกฏหมาย ผู้ปกครองจะต้องถูกปรับตามที่กฏหมายกำหนด และการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น คือ จาก ม4 – ม6 เมื่อเด็กจบการศึกษาภาคบังคับแล้วจะเรียนต่อหรือไม่ก็ได้ หรือจะเรียนสายอาชีวก็ได้ ซึ่งไม่ผิดกฏหมาย แต่คนที่ไม่เรียนต่อนั้นจะไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ มีระดับการบริหารงานดังนี้ คือ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามลำดับ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธ์ของกระทรวง
7. จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เนื่องจากครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบวิชาชีพ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและเป็นตัวอย่างที่ดีต่อบุคคลอื่น รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมาย และสามารถปฏบัตินให้อยู่ในระเบียบของกฏหมาย
8. ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ได้กระทำผิดต่อกฏหมาย เพราะในมาตราที่ 43 ระบุว่า ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา หรือทางสถานศึกษาเชิญมาสอนชั่วคราว ไม่จำเป็นที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพก็ได้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โทษทางวินัยต่อเมื่อบุคคลนั้นทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบุคคลดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตสามาถแจ้งเรื่องต่อคุรุสภาได้ ภายใน 1 ปีที่รู้ มิฉะนั้นความผิดของผู้กระทำผิดจะสิ้นสุดลง
โทษทางวินัยมี 5 สถาน ได้แก่
1. ยกข้อกล่าวหา
2. ตักเตือน
3. ภาคทัณฑ์
4. พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
5. เพิกถอนใบอนุญาต
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ เด็กเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายด้วยเช่นกัน โดยถ้าเด็กที่ไม่มีผู้ปกครอง มีสภาพลำบาก หรือ ถูกทารุณกรรม เด็กจะต้องได้รับการดูแลจากสถานสงเคราะห์ และได้รับการศึกษาหมือนเด็กปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น