Function Disabled!

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่ 5
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1.              พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
ตอบ ประกาศใช้ เมื่อวันที่  24 พฤษภาคม พ.ศ. 25546  และบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2546
2.              ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
ตอบ     มาตรา 4 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากร   ทางการศึกษาอื่นตามพระราชบัญญัติ
3.              คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
ตอบ  มาตรา 8 คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไป
 1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐาน วิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
 2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
 3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
4.  อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
        ตอบ  มาตราที่ 9คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
                1.  กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                2.  ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
                3.  ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
                4. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
          5.  สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรจาบรรณของวิชาชีพ    
                6.  ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
   7.  รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
                8.  รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
                9.  ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
               10.  เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
               11.  ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
                        11.1 การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
                        11.2 การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
                       11.3 หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
                       11.4 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
                       11.5  จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
                       11.6 มาตรฐานวิชาชีพ
                       11.7  วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
                       11.8  องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
                       11.9  หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
                       11.10 การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
       12.  ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
       13. ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
หรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
       14.  กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
       15.  ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
ตอบ    คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
            1.  ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
             2.  เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
             3.  ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
             4.  เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
             5.  ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4)
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
    ตอบ   คณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการคุรุสภามีจำนวน 39 คน  มีผู้ทรงคุณวุฒที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการศึกษาสูง เป็นประธาน
        7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
            ตอบ กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนสิบเก้าคน
       8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
            ตอบ   คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
                       1. บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
                        2. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
                        3.  พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๕๔
                  4. เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
                  5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
                   6.  ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในเรื่องดังต่อไปนี้
                         6.1 การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
                      6.2 การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
               6.3 การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการเงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
                      6.4 การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
                  6.5 กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
                7. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
                8.  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
                  9. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
      ตอบ  คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี 15 คน ประธาน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภา
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
      ตอบ   ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วย
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากร
พิเศษทางการศึกษา เช่น
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้อง
ทำหน้าที่สอนด้วย เช่น
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการ
สอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้
การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด เช่น
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน
องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาน
ประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด เช่น
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน เช่น
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา เช่น
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด เช่น
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
       ตอบ  ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) คุณสมบัติ
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
(3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(ข) ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
        ตอบ สามารถอุทรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาต หรือการไม่ออกใบแทนใบอนุญาตไม่ตัดสิทธิผู้ขอที่จะประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าคณะกรรมการคุรุสภาจะได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด    
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
         ตอบ      1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                      2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                      3  มาตรฐานการปฏิบัติตน
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
         ตอบ  มาตรฐานการปฏิบัติตน   หมายถึง   ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง  ฐานะ  เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ  ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป   หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว  ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย  ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้  
(1)    ยกข้อกล่าวหา 
(2)    ตักเตือน  
(3)    ภาคทัณฑ์    
(4)   พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร   แต่ไม่เกิน    5    ปี 
(5)   เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
   ตอบ  คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
              1. พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอน ใบอนุญาต
              2.  กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
              3.  ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
              4.  ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
               5. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
              6.  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
               7. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ  พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 58 กำหนดให้สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท ดังนี้
1. สมาชิกสามัญ
2.สมาชิกกิตติมศักดิ์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ   การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก
            (1) ตาย
             (2) ลาออก
             (3) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา 59 สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
             (4) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
             (5) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบ  สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
ตอบ    ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) มีสมาชิก ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูและบุคลากรทางการศึกษา  สมาชิกคุรุสภา คณาจารย์  ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่อนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ    ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
 ตอบ     นายกรัฐมนตรี
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ  ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ออกให้ครั้งละ 5 ปี เสียค่าธรรมเนียม 600 บาท ครบ 5 ปี ต้องขอต่อใบอนุญาตใหม่ โดยจะมีการประเมิน หรือสอบก่อนต่อใบอนุญาตด้วย ซึ่งอาจมีข้าราชการครู ครูอัตราจ้าง หรือพนักงานราชการบางคนที่ไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตในตอนนั้น

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่ 4
     1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ   เพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กตามกฏหมายการศึกษาแห่งชาติให้เด็กมีการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้ปกครองจะต้องส่งเด็กเข้าเรียนเมื่ออายุถึงเกณฑ์ มิฉะนั้นจะผิดกฏหมาย
   
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง   ข.เด็ก   ค.การศึกษาภาคบังคับ   ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ       ผู้ปกครอง  หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือปกครงตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์และหมายรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรืออยู่รับใช้กการงาน
เด็ก   หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบเข้าได้ชั้นที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
การศึกษาภาคบังคับ  หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
     3.
กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ ผู้ปกครองจะต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  ถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่ 3

คำชี้แจง  หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม
       1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
       ตอบ  รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศที่มาจากประชาชน เพื่อประชาชน กฏหมายอื่นก็ร่างขึ้นตามกฏหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายแม่บท และกฏหมายอื่นไม่สามารถขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ และกฏหมายรัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ไขได้ตามอำเภอใจแต่ต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชนก่อน
2.     ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้ว่า
          มาตราที่ 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้แลคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3.หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     หลักในการจัดการศึกษาตามมาตราที่ 8 ดังนี้
1.            เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2.            ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.            พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
        4.หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     มาตราที่ 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้     1. มีเอกภาพด้านโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4.มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5.ระดมทรัพยากรจจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา
6.การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
5.สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 10
การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่งถึงและคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกายพิการ จะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
6.            ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  การศึกษาของไทยมี 3 ระบบ คือ
1.            การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2.            การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา เนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3.            การศึกษาตาอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
7.            ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ การจัดการศึกษาสิ่งแรกต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลก่อน เพราะแต่ละคนมีศักยภาพที่ต่างกัน  เน้นคุณธรรม จริยธรรมสอแทรกในเนื้อหาวิชา เพื่อนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และคุณธรรม เป็นคนดีในสังคม
         8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ   -  แก้ไขมาตรา 4 นิยามคำว่า  กฏกระทรวง
         -  มาตรา  5 จาก “ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม…..  ไปเป็น “ให้รัฐมนตรีว่าการกระรวงศึกษาธิการ”
          -  มาตรา 31, มาตรา 32, มาตรา 33, มาตรา 34, มาตรา 37, มาตรา 38, มาตรา 39, มาตรา 40                เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
          - มาตรา  45 วรรคสอง เรื่องมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
          - มาตรา  51 ด้านการประกันคุณภาพภายนอก
          -  มาตรา 74 วรรคสอง เป็นบทเฉพาะกาล
 เหตุผลในการแก้ไข คือ   เพื่อให้กฏหมายมีความชัดเจนขึ้น และ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของชาติ และสังคมในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เพื่อเป็นกฏที่คนต้องถือปฏิบัติ และ
ทำให้บ้านเมืองอยู่อย่างผาสุข
           9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
           ตอบ  ไม่เห้นด้วย เพราะ ถ้าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว เราไม่สามารถใช้เกณฑ์ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ ในทิศทางเดียวกัน   แต่ละโรงเรียนจะมีความมุ่งหมายที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และศักยภาพของแต่ละแห่ง โดยไม่มีบรรทัดฐานที่เป็นเป้าหมายสูงสุด
           10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
       ตอบ  เห็นด้วย เพราะ สิ่งแรกที่นักเรียนควรเรียนรู้คือ การเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่นเสียก่อน โดยการนำเรื่องหรือสิ่งที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นมาเสริมในบทเรียน เป็นสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยทุกภาคส่วนมาช่วยกันกำหนดหลักสูตรสถานศึกษาก่อน
           11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
           2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
                 ของสถานศึกษา
           3. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
           4. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
            5. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
            6. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
           7. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
           12 การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วย เพราะ ใบประกอบวิชาชีพครูเป็นตัวชี้ให้เห็นว่า บุคคลนั้นมีศักยภาพในการทำงานนั้นๆได้และยังชี้ให้เห็นว่าได้ผ่านมาตรฐานเดียวกันตามที่กระทรวงกำหนด จึงสามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถทำงานนั้นได้ซึ่งมันยุติธรรม ต่อผู้ประกอบวิชาชีพ
            13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ  พรบ การศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้มีสาระท้องถิ่นที่สถานศึกษาต้องบรรจุในหลักสูตรโรงเรียนด้วย ดังนั้น เราสามารเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ในเรื่องนั้นในสถานศึกษาได้ หรือจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องใกล้ตัวและสามารถประกอบอาชีพได้ในภายภาคหน้า เป็นการประหยัดงบประมาณและในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  เราสามารถนำสื่อ เทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน หรือในเรื่องที่ตนจะสอน เช่น การใช้เพลงในการสอน, การใช้ CAI, หรือ blog พื่อเป็นารกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน