Function Disabled!

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่่ 8
         
เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

พ.ศ.2546 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
      
1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด

ตอบ  ประกาศใช้เมื่อ  9 ตุลาคม 2546   มีผลบังคับใช้เมื่อใด
     2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
ตอบ  นายกรัฐมนตรี
     3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
ตอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้การบริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
     4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ    9 หมวด   53 มาตรา ประกอบด้วย
  หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมือง คือ   มาตรา 6
 หมวด 2 การบริหารบ้านเมืองเพื่อให้เกิดสุขของประชาชน   คือ มาตรา 7และ 8
  หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธ์ต่อภารกิจของรัฐ  คือมาตรา 9,10,11,12,13,  14,15,16,17,18,19
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ คือ มาตรา 20,21,22,23,24,25,26
หมวด 5 การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน คคือ มาตรา 27,8,29,30,31,32
หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนข้าราชการ คือ มาตรา 33,34,35,36
หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองของประชาชน คือ มาตรา 37,38,39,40 ,41,42,43,44
มาตรา 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ  คือ มาตรา 45,46,47,48,49
หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด  คือ มาตรา 50,51,52,53
        5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง

ตอบ   การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารบ้านเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมาย  ดังต่อไปนี้
1.   เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2.   เกิดผลสัมฤทธ์ต่อภารกิจของรัฐ 
3.   มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4.  ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5.   ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองตามความต้องการ
6.   มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ 
         6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ตอบ  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ลำสำนักงบประมาณ
        7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน

ตอบ  90 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
       8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี

ตอบ  แผนบริหารราชการแผ่นดิน เป็นแผน 4 ปี ตามระยะการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
      9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร

ตอบ  คณะกรรมการอิสระทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐ
     10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย

ตอบ  คณะกรรมการอิสระจะประเมินการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจคุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น