คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
1. กฎหมาย หมายถึง กฏแห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และเป็นบรรทัดฐานความประพฤติสำหรับมนุษย์รุ่นต่อๆไป ในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 12)
2. การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่เจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้าสรรค์องค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. จารีตประเพณี หมายถึง การกระทำที่ฝูงชนนิยมนับถือ และถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาตาม(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 74)
4. พระราชกำหนด หมายถึง กฏหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทราตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีความจำเป็ญเร่งด่วนต่อความมั่นคงของประเทศ(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 120)
5. พระราชกฤษฎีกา หมายถึง กฏหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เป็นกฏหมายที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฏหมาย เช่น พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือโดยที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตราขึ้นเป็นพิเศษโดยไม่ขัดต่อกฏหมาย พระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการฯ และจะขัดกับกฏหมายใดที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 120)
6. สืบเสาะและพินิจ หมายถึง การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฏหมาย และหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น(จำนงค์ หอมแย้ม 2554: 290)
7. สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบัน หรือสถานศึกกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(จำนงค์ หอมแย้ม 2554: 231)
8. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฏหมาย(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 172)
9. สิทธิตามกฏหมาย หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ซึ่งทางบ้านเมืองให้คำมั่นสัญญาโดยกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฏหมายจารีตประเพณี ว่าจะจัดการดูแลให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดอย่างเต็มภาคภูมิเพื่อสมกับสถานะ ผู้ทรงสิทธิ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิ(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 178)
10. สิทธิมนุษยชน หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ที่ชอบธรรม อันพึงมีพึงได้แก่บุคคลมีลักษณะเป็นสากลและเป็นสิ่งที่มีขึ้นพร้อมๆกับสภาพบุคคล ไม่ขึ้นอยู่กับสถานะในสังคมและล่วงละเมิดไม่ได้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 244)
11. อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นอำนาจยิ่งใหญ่เหนืออำนาจทั้งปวง(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์ 2529 : 299)
แหล่งที่มา
ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป. (2529)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สารมวลชน.
คู่มือเตรียมสอบบรรจครูผู้ช่วย ภาค ก. (2554)จำนงค์ หอมแย้ม. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคง.